Energy Management System: EMS

  • Published 2 year last on Dec 01, 2021

 

Energy Management System: EMS


            ระบบอัตโนมัติที่นำเข้ามาใช้ในการควบคุมให้การผลิต การส่งพลังงาน และการจักการด้านอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งระบบบริหารจัดการพลังงานจะอาศัยการทำงานประสานกันระหว่าง อุปกรณ์ตรวจวัด(Sensor) สมาร์ทมิเตอร์(Smart meter) และระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าอัตโนมัติ (Actuator หรือ Controller) บนโครงสร้างของระบบเทคโนโลยีและสารสนเทศ (Information technology: IT) โดยอาจมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ และระบบกักเก็บพลังงานร่วมด้วยเพื่อให้บริหารจัดการการใช้ไฟฟ้าเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

            ระบบบริหารจัดการพลังงาน(EMS) ที่มีประสิทธิภาพจะมีกระบวนการวางแผนให้เกิดการผลิต การใช้พลังงานและการบริหารจัดการพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งในบางกรณีอาจจะรวมถึงการงดใช้พลังงานหรือการลดการใช้พลังงานให้เหลือน้อยที่สุด ทั้งนี้ จะต้องไม่ทำให้ความสามารถในการทำงานหรือผลิตภาพ (Productivity) ลดลง รวมถึงต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียทางสุขภาพใดๆ กับผู้ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ในพื้นที่นั้นๆ

 

โดย ระบบ EMS จะแบ่งออกไป 3 ระบบ ตามสถานที่ติดตั้ง

  • Home Energy Management System: HEMS เป็นระบบที่เชื่อมโยงอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านเข้าด้วยกัน โดยสามารถแสดงสถานการณ์ใช้ไฟฟ้า อาทิเช่น ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือบริเวณต่างๆ ในบ้านในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ยังมีขีดความสามารถในระดับที่สูงขึ้นจะสามารถนำข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพอากาศ ราคาค่าไฟฟ้า มาประมวลผล พร้อมทั้งเสนอแนะต่อผู้ใช้ไฟฟ้าถึงวิธีลดการใช้พลังงาน หรือควบคุมการใช้พลังงานอย่างอัตโนมัติให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
  • Building Energy Management System: BEMS เป็นระบบที่ช่วยในการจัดการ ควบคุม และติดตามระบบพลังงานภายในอาคารเช่น ระบบปรับอากาศ ระบบไฟแสงสว่าง โดยจะรวบรวมข้อมูลที่ตรวจวัดในส่วนต่างๆ ประมวลผล และส่งข้อมูลที่จำเป็น ให้ผู้ควบคุมระบบของอาคารเข้าใจถึงการลักษณะการใช้พลังงานในอาคาร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในอาคาร โดยทั่วไปแล้ว อาคารพาณิชย์ในประเทศไทยนั้นจะใช้พลังงานไฟฟ้าส่วนมากไปกับระบบปรับอากาศ ประกอบด้วยส่วนหลักๆ ดังต่อไปนี้ การควบคุมระบบปรับอากาศ ระบบทำความร้อนและระบายอากาศ (Heating, Ventilation, and Air Conditioning: HVAC) ระบบควบคุมแสงสว่างในอาคาร การรวบรวมข้อมูลจากสมาร์ทมิเตอร์ การควบคุมการทำงานของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานในอาคาร เป็นต้น นอกจากนี้ ในอนาคตอาจจำเป็นต้องมีการติดตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไว้ในอาคาร เพื่อรองรับการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าของผู้ที่อาศัยหรือทำงานอยู่ภายในอาคาร ดังนั้นฺ BEMS บางระบบจึงต้องสามารถควบคุมการทำงานของสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าได้ด้วย
  • Factory Energy Management System: FEMS เป็นระบบการจัดการพลังงานในอนาคตที่จะจัดการและควบคุมพลังงานที่ใช้ในการกระบวนการผลิตของโรงงาน FEMS เนื่องจากการใช้พลังงานไฟฟ้าของโรงงานต่างๆ แตกต่างกันออกไปตามลักษณะกระบวนการผลิตของโรงงานนั้นๆ ซึ่งจะต่างออกไปในกรณีการใช้ไฟฟ้าที่แตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่หน้าที่หลักของ BEMS มักจะอยู่ที่การควบคุมระบบปรับอากาศ ระบบทำความร้อน หรือระบบแสงสว่างเป็นหลัก

     นอกจากนี้ ยังมีส่วนสำคัญในการทำให้การรองรับการส่งคำสั่งอัตโนมัติ จากหน่วยงานด้านการไฟฟ้ามายังผู้ใช้ไฟฟ้า รวมถึงสนับสนุนการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกับระบบเซิร์ฟเวอร์ของผู้ดูแลระบบโครงข่ายไฟฟ้าในการซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้า โดยสามารถบริหารจัดการทรัพยากรพลังงานตั้งแต่ด้านแหล่งผลิตไฟฟ้าไปจนถึงด้านโหลดไฟฟ้าได้อย่างครบถ้วน

 

ประโยชน์ของระบบบริหารจัดการพลังงาน

  1. Energy Cost Saving ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานทันที 5-10% และสามารถวางแผนลดต้นทุนด้านพลังงานในระยะยาวมากกว่า 50%
  2. Operation Cost-Saving ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน จากการทำ Process Improvement อีกทั้งยังลดความยุ่งยากและระยะเวลาในการดำเนินการ
  3. พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการลดการใช้พลังงานขององค์กรผ่านทาง Smart device อาทิ คอมพิวเตอร์ Smart phone และ tablet ประเมินผลได้อย่างชัดเจน
  4. สนับสนุนการนำผลการใช้พลังงานมาเป็นตัวประเมินประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์กร รองรับพลังงานสีเขียว
  5. รองรับการเชื่อมต่อกับ Green Technology รูปแบบต่างๆ อาทิ Solar Roof,สถานีรถพลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนอื่นๆ

    อย่างไรก็ตาม เมื่อหลายระบบเหล่านี้ถูกนำมาประกอบรวมเข้าเป็นระบบใหญ่ ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลสื่อสารถึงกัน และมีการควบคุมการทำงานร่วมกัน จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบสมาร์ทกริดซึ่งมีเป้าหมายในการทำให้ส่วนต่างๆ ทำงานสอดประสานกันอันจะนำไปสู่การใช้งานระบบโครงข่ายไฟฟ้าหลักในภาพใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้ยังสามารถนำไปสู่ประโยชน์ด้านอื่นๆ ที่ตามมาได้ ไม่ว่าจะเป็นการประหยัดพลังงานและการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการพลังงานในภาพรวม การเพิ่มปริมาณการใช้พลังงานหมุนเวียนให้ได้มากที่สุด การรักษาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า การรักษาคุณภาพไฟฟ้า การทำให้โครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่สามารถตอบสนองต่อโหลดต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามาในอนาคตได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

หากต้องการคำแนะนำทางด้านการจัดการต่างๆที่เกี่ยวข้อง
กรุณาติดต่อ